ศาลเจ้าพระกวนอู
ห้วยยอด
ในสมัยก่อนหลังจากทางราชการไทยสร้างทางรถไฟมายังห้วยยอดใหม่ๆนั้น
บริเวณที่ตั้งศาลพระกวนอูในปัจจุบัน ได้มีชาวฝรั่งคนหนึ่งมาสร้างโรงภาพยนตร์
เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในยามว่างจากภาระกิจการงาน
(ในภาพ ศาลเจ้าพระกวนอู ห้วยยอด)
โรงภาพยนตร์แห่งนั้นมีขนาดกว้าง 14 เมตร ยาว 80 เมตร เมื่อชาวฝรั่งคนนั้นกลับไปแล้ว
ภายหลังโรงภาพยนตร์จึงตกอยู่ในการครอบครองของนาย มนัส ธรรมรักษ์
อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลตรังในสมัยก่อน
(ในภาพ อาคารศาลพระกวนอู)
ต่อมานาย เทียนสี และนาง เปากิม แซ่เจี่ย สองสามีภรรยา
เช่าโรงภาพยนตร์ต่อมาจากนายมนัส ธรรมรักษ์อีกที
ภายหลังจึงมอบหมายให้ โกดำ บุตรชาย ดูแลกิจการโรงภาพยนตร์แทนท่าน
โดยส่วนตัวโกดำท่านนับถือพระกวนอูเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
เนื่องจากไม่ว่าท่านบนบานอะไรกับพระกวนอูแล้ว มักประสบความสำเร็จ
(ในภาพ ป้ายนามศาลพระกวนอู)
ครั้งหนึ่งบริษัทสร้างภาพยนตร์ได้นำหนังเรื่องหนึ่งมาฉายในโรง
ทางบริษัทภาพยนตร์ได้มอบภาพวาดพระกวนอูกำนัลให้โรงภาพยนตร์
ท่านจึงนำภาพนั้นมาบูชาบนหิ้งพระเล็กๆตั้งอยู่หลังโรงภาพยนตร์
(ในภาพ บรรยากาศภายในศาลพระกวนอู)
จนเมื่อเวลาผ่านไปโรงภาพยนตร์เก่าแก่ชำรุดทรุดโทรมมาก
จนยากต่อการซ่อมแซม โรงภาพยนตร์จึงต้องหยุดกิจการไป
(ในภาพ แท่นบูชากลางพระกวนอู)
ต่อมาในปีพุทธศักราช 2527 วันหนึ่งโรงภาพยนตร์ทรุดตัว
พังทลายลงมากองกับพื้นเนื่องด้วยความเก่าและชำรุด
อาคารยุบลงมาสู่แนวกลางโดยไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บเลย
เมื่อมีชาวบ้านไปสำรวจสิ่งของทุกอย่างพังย่อยยับ
มีเด็กชาวบ้านสังเกตุเห็นภาพวาดพระกวนอู
ภาพวาดใบนั้นได้กระเด็นลอยมาตั้งอยู่บริเวณโคนต้นมะพร้าว
ตั้งเด่นเป็นสง่าโดยไม่มีร่องรอยชำรุดแม้แต่น้อย นับเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจมาก
ชาวบ้านจึงเข้าไปประคองอุ้มรูปใบนั้นขึ้นมา
เมื่อพิจารณากลับพบเป็นตัวเลขอยู่หลังฉาก
(ในภาพ พระกวนเซ่งเต้กุน หรือพระกวนอู)
ชาวบ้านจึงกล่าวที่เล่นทีจริงว่า สงสัยพระกวนอูท่านให้ลาภ
หากไม่ซื้อหวยงวดนี้แล้ว กล่าวว่าเป็นที่น่าเสียดายมาก
(ในภาพ แท่นบูชาพระกวนอิม)
เมื่อชาวบ้านร่ำลือต่อๆกันไป ชาวบ้านจึงซื้อหวยกันทั้งเมือง
ผลปรากฏผลออกเลขดังกล่าวจริงๆ
ชาวบ้านจึงคิดว่าเป็นด้วยอภิหารของท่าน
จึงพร้อมใจกันลงขันเป็นทุนรอนในการสร้างศาลพระกวนอูขึ้น
(ในภาพ พระโพธิสัตว์กวนอิม)
ต่างพร้อมใจสร้างศาลพระกวนอูขึ้นในตำแหน่งโรงภาพยนตร์เก่า
ให้ผู้ที่ถูกหวยลงปัจจัยมากน้อยตามกำลังที่ตนเองได้รับมาจากการถูกหวย
(ในภาพ แท่นบูชาพระหลุกหยิ่มไท้ซือ)
ครั้งนั้นการก่อสร้างใช้ไม้เสาและฝากระดานเก่าจากโรงภาพยนตร์นั่นเองมาดัดแปลง
แรกเริ่มสร้างเป็นเพียงคูหาเล็กๆกว้าง 3 เมตร ยาว 7 เมตร
ทางชุมชนได้มอบความไว้วางใจให้โกดำเป็นตัวหลักในการก่อสร้างและดูแลกิจการศาล
คณะกรรมการศาลจึงกำหนดเริ่มงานประจำปีของศาลเจ้าตั้งแต่ปีนั้นเป็นต้นมา
(ในภาพ พระหลุกหยิ่มไท้ซือ และ พระจี้กงอั่วฮุด)
จนเมื่อมีเงินเหลือเก็บจากงานประจำปีมากพอสมควร
ภายหลังชาวบ้านจึงช่วยกันต่อเติมศาลออกไปด้านข้าง
โดยก่อสร้างอาคารศาลที่ละข้างจนปรากฏเห็นในปัจจุบัน
(ในภาพ เสาธงประจำศาล)
แรกเริ่มเมื่อครั้งสร้างศาลเสร็จใหม่ๆ ทางศาลเจ้ายังไม่มีร่างทรง
ภายหลังเมื่อสร้างศาลเสร็จแล้ว 2-3 ปี พระกวนอูจึงลงมาประทับทรง โกชา
แล้วท่านก็เป็นร่างทรงของพระกวนอูประจำศาลตั้งแต่บัดนั้นจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
(ในภาพ ศาลาถี่ก๋งและเทวดาจร)
สภาพศาลในปัจจุบัน ศาลพระกวนอูห้วยยอดตั้งอยู่ริมทางรถไฟห้วยยอด-ทุ่งสง
บริเวณล้อมรอบศาลเรียก ชุมชนกวนอู ในเขตเทศบาลห้วยยอด
(ในภาพ เจดีย์เผากระดาษทอง)
ตัวอาคารศาลเป็นอาคารศาลชั้นเดียว ด้านหน้าศาลมีเสาธงประจำปี ศาลาถี่ก๋งและเทวดาจร
ภายในศาลประกอบด้วย แท่นบูชากลางของประธานศาลเป็น พระกวนเซ่งเต้กุน หรือ พระกวนอู
(ในภาพ พระกวนอูชุดหยิว หรือ ออกเที่ยวเมื่อปีพุทธศักราช 2543)