ศาลเจ้ากวนอู
ห้วยยอด
ขอเชิญสาธุชนร่วมบำเพ็ญกุศลถือศีลกินเจประจำปี 2550
เนื่องในวันคล้ายวันเกิดของ พระกวนอู
ตั้งแต่วันที่ 4 ถึง 6 สิงหาคม ปีพุทธศักราช 2550
ศาลเจ้ากวนเซี่ยตี่กุน
หลัก 2 ตรัง
ขอเชิญสาธุชนร่วมงานประจำปี 2550
ตั้งแต่วันที่ 5 ถึง 6 สิงหาคม ปีพุทธศักราช 2550
รับประทานบะหมี่พระร่วมกัน
ในวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม ปีพุทธศักราช 2550
ศาลเจ้าพระกวนอู
หลักสอง นาตาล่วง
เมื่อประมาณกว่า 50 ถึง 60 ปีก่อน ชายชาวจีน ชื่อ นาย ฉ่อยจุง หรือ นาย กุ่ย
ชาวบ้านเรียก ปักกุ่ย ชาวจีนกวางตุ้งอพยพมาจากสิงคโปร์ มาตั้งรกรากพำนักอยู่ที่เมืองตรัง
(ในภาพ ประตูศาลเจ้าพระกวนอู)
ปักกุ่ย ท่านนับถือบูชาพระกวนอู
ต่อมาพระกวนอูได้เลือกท่านเป็นร่างทรงเพื่อเผยแผ่บารมี
(ในภาพ ศาลเจ้าพระกวนอู)
แรกเริ่มท่านประทับทรงอยู่ที่ศาลพระโป้เซ้งไต่เต่ ศาลเก่าบ้านบางกุ้ง
เช่นเดียวกับร่างทรงอาวุโสหลายท่าน มักถือกำเนิดจากศาลนี้
ต่อมาเมื่อมีกลุ่มบุคคลร่วมกันก่อสร้างศาลพระโป้เซ้งไต่เต่แห่งใหม่
ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม บ้านนาวง
ท่านก็ตามกลุ่มคณะมาประทับทรงที่ศาลแห่งใหม่
(ในภาพ อาคารศาลเจ้าพระกวนอู)
ช่วงหลังปีพุทธศักราช 2500 เพียงไม่กี่ปี ท่านได้รับเทียบเชิญ
เพื่อเข้าร่วมงานประจำปีของศาลเจ้าพ่อหมื่นราม
เมื่อครั้งแรกศาลเดิมอยู่ที่กรมทางเก่า ถ.กันตัง
(ในภาพ หอพระหยกอ๋องส่องเต่)
ในครั้งนั้นพระกวนอูได้ลงประทับทรงแผ่เมตตาบารมี
ช่วยปัดเป่าทุกข์โศกโรคภัยให้กับสาธุชน
เมื่อทุกคนเห็นความสามารถเป็นที่ประจักษ์และเลื่องลือจากปากต่อปาก
จนก่อให้เกิดความศรัทธาของผู้ที่เข้าหาพระเป็นอันมาก
(ในภาพ เจดีย์เผากระดาษทอง)
โดยเฉพาะการทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ
และการรักษาชาวบ้านที่มีทุกข์เนื่องจากความเจ็บป่วย
(ในภาพ ด้านหน้าอาคารศาลพระกวนอู)
ในครั้งนั้น นาย จุงหว่าซัน ชาวจีนกวางตุ้ง ได้เข้าหาพระกวนอู
และขอให้พระกวนอูรักษาความเจ็บป่วย
(ในภาพ จารึกนามศาล เฮียบเทียนเกง)
ครั้งนั้นท่านสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บเรื้อรังได้หายขาด นับเป็นที่ประหลาดใจยิ่งนัก
นำความปิติยินดีปลาบปลื้มใจแก่ชายคนดังกล่าวและบุคคลภายในครอบครัวเป็นอย่างมาก
(ในภาพ จารึกนามศาล กวนเต้เบ้ว)
ต่อมานายจุงหว่าซัน จึงได้ปวารณาตัวบริจาคที่ดินเพื่อก่อสร้างศาลเจ้าพระกวนอู
ซึ่งเป็นที่ดินรกร้างตั้งอยู่ริมถนนห้วยยอด หลัก 2 ก่อนถึงเมืองตรัง
(ในภาพ ศาลาม้าเซ็กเทา และทหารม้า)
ในสมัยราว 40-50 ปีก่อนนั้น ย่านหลัก 2 บ้านนาตาล่วงนั้น
ถือว่าเป็นพื้นที่ห่างไกลและยังไม่มีความเจริญดังเช่นปัจจุบัน
(ในภาพ บรรยากาศภายในอาคารศาลพระกวนอู)
กล่าวว่าระยะแรกที่ดินที่ท่านบริจาคให้ศาลเจ้านั้น
มีพื้นที่ศาลกว้างยาวลงไปด้านใต้จนติดกับพื้นที่การรถไฟ
ภายหลังเมื่อมีการจัดสรรที่ดินใหม่ พื้นที่ของศาลเจ้าจึงปรากฏเท่าเห็นในปัจจุบัน
(ในภาพ แท่นบูชาเทวดารวม)
ช่วงแรกเริ่มสร้างเป็นอาคารศาลไม้มุงจากหลังเล็กๆ
ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงครัวในปัจจุบัน ต่อมาจึงสร้างอาคารศาลถาวร
(ในภาพ ฮวงจุ้ยบ่อฟ้า และบ่อมังกร)
สำหรับผู้ร่วมก่อตั้งศาลรุ่นแรกนั้น ได้แก่
นาย ช้อยฉุ่งฮีน นาย จุงหว่าเซ้ง นาย จุงหว่าพาก
นาง แส่ก๊ำหลิ่น นาง เหลื่องซิวฟุง นาง หู่เหล็กซอง เป็นต้น
(ในภาพ แท่นบูชากลางพระกวนอู)
ในคราวนั้นใช้ระยะเวลาก่อสร้างนานเกือบสิบปี
จนได้อาคารศาลเจ้าซึ่งนับว่ากว้างขวางและสง่างามมากแห่งหนึ่งในเมืองตรัง
ได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระกวนอูเข้าประทับภายในศาลเมื่อปีพุทธศักราช 2515
นับจากบัดนั้นพระกวนอูท่านแผ่บุญบารมีจนเป็นที่ประจักษ์
ผู้คนใกล้ไกลที่ศรัทธาพระกวนอูต่างมาหาท่านโดยไม่เคยขาด
(ในภาพ พระกวนเซ่งเต้กุน หรือ พระกวนอู)
นับตั้งแต่รุ่งสาง ปรากฏมีผู้ศรัทธามาต่อแถว
ขอให้ท่านช่วยเหลือรักษาโรคภัย จนต้องต่อคิวยาวนับร้อย
(ในภาพ เทพองครักษ์ พระกวนเป๋งไท้จื้อ หรือ พระกวนเป๋งเซ่งจื้อ)