ภายในงานมีพิธีกรรมมีตั้งพระยี่หวั่ง การประทับทรง พิธีกรรมทางศาสนา
(ในภาพ การตั้งยี่หวั่งอย่างเรียบง่ายแบบโบราณ)
บำเพ็ญกุศลทิ้งกระจาด แจกทาน และรับประทานอาหารร่วมกัน
เรียบเรียงโดย บุนเต้หลาง เมื่อ 26 พฤษภาคม ปีพุทธศักราช 2550
(ในภาพ ศาลเจ้าเสียวลิ้มในงานประจำปี)
สารบัญกระทู้
ประเพณีถือศีลกินผักตรัง
(1)
เรื่อง
หน้า
ป่ายตั๋ว
10
ขึ้นเสาเต็งโก
รับพระ
12
ตักเก็ง
13
ปักเต้าหน่ำเต้าแชกุน
16
พระท่ามกงเยี่ย
17
ศ.ท่ามกงเยี่ย ตรัง
19
พระ108
20
พระ108-109 ตรัง
ศ.108-109 ย่านตาขาว
21
ศ.108-109 คลองปาง
พระซามซัวก๊กอ๋อง
ศ.ซำซัวก๊กอ้วง สุโสะ
22
พระโป้เซ้งไต่เต่
23
ศ.โป้เซ้ง ตรัง
25
วันสำคัญสิ่งศักด์สิทธิ์
27
เจ้าพ่อเขาตก
28
เจ้าพ่อเขาใหญ่
31
ศ.เขาใหญ่ เกาะสีชัง
33
ศ.เขาใหญ่ ตรัง
34
เจ้าพ่อหมื่นราม
35
ศ.หมื่นราม ตรัง
37
ซาจับหลักกวนเจียง
38
ศ.กวนอิมเก็ง ตรัง
41
พระก่องเต็กจุนอ๋อง
42
จับซาไท้จือไท้โป้
44
ศ.ฮงสั้นซี้ ท่าจีน
45
วันสำคัญ เมย.2550
46
สารทไหว้รอบปี 2550
47
ศ.เฮี่ยนเทียน หานจีนเค้า
(2)
ศ.เฮี่ยนเทียน คลองน้ำเจ็ด
48
ศ.หินรูปช้าง ตรัง
49
วันสำคัญ พค.2550
บิดเจี่ยน/อั่งกู/เทียบ
50
พระเปากง
ศ.เปากง ตรัง
53
ศ.เปากง ย่านตาขาว
54
พระกิมฮวยเหนียว
55
ศ.ดอกไม้ทอง ตรัง
ศ.สามพี่น้อง ย่านตาขาว
56
พระข่อจินหยิน
57
พระซุนจินหยิน
ศ.ทวดศาลา ย่านตาขาว
58
ศ.เก่งจิวโฮยก้วน กันตัง
59
พระเทียนห่อเซ่งโบ้
60
พระตุ้ยบ้วยเต๋งเหนี่ยง
66
เทพองครักษ์
67
พระม่าจ้อโป๋ แต้จิ๋ว
พระม่าจ้อโป๋ เบิกไพร
69
เชียนหลีหง่านสุ่นฮองหงี่
70
ศ.เจากงเยี่ย วังคีรี
73
ศ.ปุ๋นเท่าก๋ง ท่าจีน
74
ศ.เซียนใฉ่เยี๋ย ลำภูรา
75
ศ.พิฆเนศวร์ ตรัง
76
ศ.พิฆเนศวร์ ย่านตาขาว
77
วันสำคัญ มิย.2550
79
ศ.เสียวลิ้ม ย่านตาขาว
เรียบเรียงโดย บุนเต้หลาง เมื่อ 26 เมษายน ปีพุทธศักราช 2550
ปรับปรุงเมื่อ 26 พฤษภาคม ปีพุทธศักราช 2550
ศาลเจ้าพระพิฆเนศวร์
ตรัง
ขอเชิญสาธุชนร่วมบำเพ็ญกุศลถือศีลกินเจประจำปี 2550
ตั้งแต่วันที่ 24 ถึง 30 พฤษภาคม ปีพุทธศักราช 2550
ร่วมรับประทานอาหารเจและลุยไฟ
ในวันพุธที่ 30 พฤษภาคม ปีพุทธศักราช 2550
ศาลเจ้าพระ108-109
บ้านยวนโปะ ปะเหลียน
ตั้งแต่วันที่ 28 ถึง 31 พฤษภาคม ปีพุทธศักราช 2550
ร่วมพิธีลุยไฟ
พระจุ๋งจื้อไท้เซียน
ท่านแซ่ จ้ง นามเดิมว่า โหยว นามศึกษา จื่อลู่ เรียก จ้งจื่อลู่ คำฮกเกี้ยนว่า จ่งจูล้อ หรือ ต่องจูล้อ ท่านเป็นหนึ่งใน 72 สานุศิษย์ใกล้ชิดผู้ติดตามท่านขงจื้อ เป็นชาวเมืองเปี้ยน แคว้นหลู่ในอดีต ปัจจุบันอยู่ในท้องถิ่นฉวนหลิน อำเภอสื้อสุ่ย มณฑลซานตง ท่านถือกำเนิดในยุคชุนชิวช่วงปลาย รัชสมัยโจวจิ่งหวัง ปี 3 ปีพุทธศักราช 1 วันที่ 7 เดือน 9 จีน บ้างว่าวันที่ 1 เดือน 8 จีน ก่อนนั้นมารดาของท่านฝันว่ามีหมีตัวหนึ่งมุดเข้าท้อง หลังจากนั้นมารดาท่านจึงตั้งครรภ์
(ในภาพ ท่านจ้งจื่อลู่)
ในสมัยเด็กท่านจื่อลู่ยากจนมาก ท่านอยู่กับบิดามารดาเพียง 2 ท่าน เนื่องจากความยากจนอาหารการกินจึงไม่สมบูรณ์ จำต้องตัดหญ้าผักป่ามาต้มกินเพียงเพื่อประทังชีวิตไปเพียงวันๆ จนเมื่อเวลาผ่านไป ท่านจื่อลู่สังเกตุเห็นว่าบุพการีทั้งสองท่านต่างซูบผอมเจ็บป่วยกระเสาะกระแสะยิ่งขึ้นทุกวัน ท่านคิดว่าเป็นเพราะบุพการีทั้งสองท่านขาดสารอาหาร ท่านจึงนึกถึงข้าวสารซึ่งถือว่าเป็นอาหารชั้นดีที่สุดของชาวบ้านป่าสมัยนั้น นึกอยากนำมาหุงต้มให้ท่านได้รับประทาน
(ในภาพ ความกตัญญูต่อบุพการีของท่านจ้งจื่อลู่)
ท่านจึงทำงานหนักขยันขันแข็งเก็บผักป่าไปขาย เมื่อได้เงินมาก้อนหนึ่ง จึงนำเงินไปซื้อข้าวสารเพื่อให้ท่านทั้งสองได้กิน แต่ตลาดที่ต้องซื้อหานั้นอยู่ห่างไกลมากห่างจากที่ท่านอยู่หลายร้อยลี้ ท่านจื่อลู่ต้องตื่นแต่เช้าคว้าถุงข้าวสารผุๆเดินทางเข้าไปในเมืองเพื่อซื้อข้าวสาร การเดินทางแต่ละครั้งยากลำบาก บางครั้งต้องตากแดดตากฝนนอนกลางดินกินกลางทราย เพียงเพื่อให้สมปรารถนาที่ตั้งใจไว้
เมื่อได้ข้าวสารมาแล้ว ท่านจึงแบกถุงข้าวสารไว้บนบ่าเดินบ้างวิ่งบ้างสลับกันไปด้วยความดีใจ เมื่อมาถึงบ้านก็ไม่ยอมพัก จัดแจงหุงข้าวให้บุพการีทั้งสองท่านได้รับประทานทันที จนกระทั่งบุพการีทั้งสองท่านเริ่มมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ขึ้นตามลำดับ
ภายหลังเมื่อบุพการีทั้งสองถึงแก่กรรมท่านจื่อลู่ร่ำร้องไห้ปานว่าจะขาดใจตาย ต่อมาภายหลังเมื่อท่านได้เป็นใหญ่รับราชการมีเงินทองและอาหารเหลือกินเหลือใช้ ท่านก็ยังไม่ลืมความยากลำบากในคราวก่อน ท่านได้เก็บถุงข้าวสารใบเก่าผุพังไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนใจ เฝ้าคิดถึงแต่บุพการีทั้งสองอยากให้ท่านทั้งสองมารับประทานอาหารที่สมบูรณ์ คุณธรรมข้อนี้เป็นที่กล่าวขานในเมืองจีนนับแต่โบราณกาลจนจัดเป็น 1 ใน 24 ความกตัญญูที่ได้รับการบันทึก
ในรัชสมัยโจวจิ่งหวังปี 21 ปีพุทธศักราช 19 เมื่อท่านจื่อลู่อายุ 19 ปี ท่านเป็นหนุ่ม ลักษณะกำยำดูแข็งแรง ท่านจึงมักออกหน้าแทนผู้อื่นเรียกหาความยุติธรรมอยู่เสมอ ครั้งหนึ่งขณะที่ท่านจื่อลู่กำลังชกต่อยกับพวกอันธพาล บังเอิญท่านขงจื้อผ่านมาพบเจอ ท่านขงจื้อกล่าวว่า ท่านเสียดายที่ท่านจื่อลู่เป็นคนกล้าหาญ แต่มัวแต่ชกต่อยกับผู้อื่น หากท่านจื่อลู่คิดกลับใจ มุมานะเรียนหนังสือหาความรู้จะก้าวหน้ากว่านี้
ท่านจื่อลู่ได้ฟังดังนั้นจึงหยุด เมื่อกลับมาถึงบ้านจึงนั่งครุ่นคิด แล้วท่านผลุนผลันแต่งตัวเป็นขุนศึกเดินทางมุ่งตรงไปยังบ้านท่านขงจื้อ ท่านคิดว่าจะทำทีท่าข่มขวัญท่านขงจื้อ พลันเหยียบย่างเข้าสู่ประตูบ้านท่านขงจื้อ ท่านขงจื้อกล่าวคำทักทายท่านจื่อลู่เป็นคำปราชญ์ เพียงได้ฟังครั้งเดียว ท่านจื่อลู่ก็นิ่งสงบ จึงได้ข้อคิดว่า ด้วยสติปัญญาเท่านั้นจึงสามารถชนะผู้อื่นได้ มิใช่พละกำลังแต่พียงอย่างเดียว
ท่านจื่อลู่จึงกราบกรานท่านขงจื้อขอให้รับท่านไว้เป็นศิษย์ ท่านขงจื้อจึงตอบรับท่านเป็นศิษย์ กล่าวว่าท่านจื่อลู่อายุน้อยกว่าท่านขงจื้อเพียง 9 ปี ท่านขงจื้อจึงนับท่านจื่อลู่เปรียบดังเพื่อนคู่ใจ ท่านจื่อลู่นับเป็นสานุศิษย์ของท่านขงจื้อที่มีอายุมากที่สุด
โดยพื้นฐานบุคลิกของท่านจื่อลู่เป็นคนซื่อสัตย์ รักความยุติธรรม คล่องแคล่วว่องไว ใฝ่ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ท่านขงจื้อจึงไว้วางใจท่านจื่อลู่มาก และท่านได้สั่งสอนท่านจื่อลู่อย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย ต่อมาเจ้าเมืองแคว้นฉู่ ร่ำรู้ถึงกิตติศัพท์ความรู้ความสามารถของท่านจื่อลู่ ทราบว่าท่านจื่อลู่มีคุณธรรมและสนใจด้านการเมืองการปกครอง มีเจตคติอยากเห็นราษฎรอยู่ดีมีสุข จึงเรียกตัวท่านมาช่วยราชการ
ท่านเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินของขุนนางตระกูลจี้ ท่านจึงได้รับฉายา จี้ลู่ ต่อมาการงานหน้าที่ของท่านเติบใหญ่ จนกระทั่งได้รับมอบหมายเป็นเจ้าเมือง ผูอี้ ท่านได้ปกครองบ้านเมืองอย่างดี นำความรู้ที่ได้รับมาจัดการบริหารได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ราษฎรอยู่ดีมีสุข
ครั้งหนึ่งท่านขงจื้อได้มาเยี่ยมเยียนท่านจื่อลู่ พลันเข้าเหยียบเขตแดนเมืองผูอี้ ท่านออกปากชมว่าท่านจื่อลู่ดีมาก ตั้งใจบริหารบ้านเมืองราษฎรให้ความเชื่อถือ พอเข้าในเมืองท่านออกปากชมเป็นครั้งที่สองว่า ท่านจื่อลู่ดีมากทุ่มเทแรงกายและใจทำงานรับใช้ราษฎร พอเข้าศาลาว่าการเมือง ท่านจึงกล่าวชมเป็นครั้งที่สามว่า ท่านจื่อลู่ดีมากตัดสินปัญหาต่างๆได้ดี ดำเนินการโดยเฉียบขาด ท่านจื่อก้ง สานุศิษย์อีกผู้หนึ่งซึ่งติดตามไปด้วยกัน จึงบังเกิดความสงสัยว่าท่านขงจื้อลำเอียง เพราะตั้งแต่เข้าเมืองมายังไม่ทันพบท่านจื่อลู่ ก็ออกปากชมแล้วถึงสามครั้ง
ท่านขงจื้อจึงกล่าวว่า เมื่อท่านก้าวย่างเข้ามายังเมืองผูอี้ ท่านเห็นเรือกสวนไร่นาอุดมสมบูรณ์ดี เป็นระเบียบเรียบร้อย ปราศจากวัชพืช การชลประทานอุดมสมบูรณ์ นั่นเป็นเพราะราษฎรให้ความเชื่อถือศรัทธาในผู้ปกครอง จึงให้ความร่วมมือกับทางราชการบริหารบ้านเมือง
เมื่อท่านเข้ายังในเมืองท่านเห็นบ้านเรือนดูสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย มีรั้วรอบขอบชิด ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ท่านจึงคิดว่า นั่นเป็นเพราะท่านจื่อลู่ทุ่มเทการบริหารงาน จนราษฎรศรัทธา จึงไม่เกียจคร้าน ให้ความร่วมมือ ช่วยกันพัฒนาบ้านเมือง
เมื่อท่านเข้าไปยังศาลาว่าการเมือง ท่านเห็นข้าราชการทำงานอย่างขมีขมันไม่เกียจคร้าน เป็นระเบียบเรียบร้อย แสดงว่าท่านจื่อลู่ทำงานได้ดี มีความเฉียบขาดตัดสินปัญหาต่างๆได้ดี ข้าราชการจึงรักและศรัทธา ทุกคนทำงานด้วยความเต็มใจ ท่านกล่าวต่อว่า หากมองในแง่นี้แล้ว ท่านกล่าวชมท่านจื่อลู่เพียงสามครั้งนับว่ายังน้อยไป