แรกเริ่มบางคนคิดว่าเสียสติ เพี้ยนเป็นบ้า
ตอนนั้นญาติและเพื่อนบ้านต่างนึกตกใจว่าเป็นบ้าจึงนำท่านไปกักขัง
(ในภาพ ศาลเจ้าพระพิฆเนศวร์ ตรัง)
ต่อมาเมื่อทุกคนคิดว่าเป็นผีเข้า
จึงพยายามหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆที่พอจะหาได้มาทำพิธีขับไล่ผี
แต่ไม่สำเร็จ ไม่มีใครสามารถขับไล่ผีตนนี้ออกไปได้
จนมาถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือ พระพุทธ จำต้องลงมาประทับทรงด้วยตนเอง
ท่านประทับทรงเด็กชายหิ้น จึงสามารถขับไล่ภูติผีปีศาจตนนี้ออกไปได้
หลังจากนั้นพระพุทธท่านลงประทับทรงเด็กชายหิ้นตลอดมา
เพื่อแผ่บุญบารมีมายังสาธุชน ปกปักรักษาความเจ็บไข้และขับไล่ภูติผีปีศาจ
ต่อมาเพื่อนในกลุ่มเดียวกันเช่น โกเลิศ โกด่วน โกบ่าวหู้ โกวิน
ต่างมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงประทับทรงเช่นเดียวกันในเวลาไล่เลี่ยกัน
(ในภาพ ภายในอาคารศาลเจ้าพระพิฆเนศวร์ ตรัง)
โดยเฉพาะ โกย้อย ซึ่งเป็นพี่ชายของเด็กชายหิ้น
มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือ พระพิฆเนศวร์ ลงประทับทรงท่าน
เมื่อปรากฏดังนั้นชาวบ้านจึงเริ่มร่ำลือว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงประทับทรง
จากปากต่อปากล่ำลือกันจนกิตติศัพท์ขจรขจาย
(ในภาพ แท่นบูชาเติมน้ำมันตะเกียงพระ)
ชาวบ้านจำนวนมากต่างเข้าหาและขอพรพระ
ให้ท่านช่วยเหลือบำบัดความทุกข์ร้อนและรักษาไข้
(ในภาพ ชุดเช่าบูชาพระพิฆเนศวร์)
ในเบื้องต้นจัดสร้างเป็นอาคารศาลชั่วคราว
เรียกว่า ศาลเจ้าพระพิฆเนศวร์
เนื่องจากร่างทรงที่บุกเบิกศาลเจ้านี้เป็น โกย้อย
โกย้อย เอ่งฉ้วน ท่านเป็นร่างทรงพระพิฆเนศวร์
ชาวบ้านทั่วไปเรียก โรงพระเด็ก เนื่องจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทับร่างทรงวัยเด็ก
ตัวอาคารศาลแรกเป็นเรือนจาก ต่อมาจึงเป็นเรือนไม้
สถานที่ไม่แน่นอนย้ายศาลไปอยู่หลายที่
(ในภาพ แท่นบูชาพระพุทธขิเนตร)
ครั้งหลังสุดเป็นอาคารศาลเรือนไม้ตั้งอยู่บริเวณต้นไทรใหญ่
หลังปั้มแก๊สชัยพร สามแยกวัดกุฎ ตั้งอยู่หลายปี
ต่อมาเจ้าของที่ดินต้องการที่ดินคืน ศาลเจ้าจึงต้องรื้อออกจากที่ดินผืนนั้น
ประกอบกับ นางจิม น้ำผุด ร่วมกับบุคคลในตระกูลน้ำผุด ข่ายม่าน และแมงมี
ซึ่งเป็นชาวบ้านผู้มีจิตผู้ศรัทธาได้บริจาคที่ดินในหมู่บ้านไทยสมุทรซึ่งมีพื้นที่รวมกัน 3 งานกว่า
แรกเริ่มศาลเจ้าตั้งอยู่ในบ้านไม้ส่วนบุคคล
ซึ่งอยู่ชิดริมกำแพงด้านหลังของอาคารศาลเจ้าในปัจจุบัน
มี นายไล่-นางแดง น้ำผุด นายสุวิทย์-นางประคอง วัฒนพันธุ์ เป็นผู้ก่อตั้งศาลเจ้า
ผู้อุปถัมภ์รุ่นบุกเบิก เช่น นายกัง นายยินกิจิ กาวาฮารา เป็นหมอญี่ปุ่น
นายท่ามเภา ต้องเคียน นายท่ามไกว ไทรงาม นายโม้ ธรรมรักษ์ นายประผล จินดาพล เป็นต้น
(ในภาพ แท่นบูชาพระอินทร์)
ต่อมาลูกหลานผู้มีจิตศรัทธารวบรวมปัจจัยจัดสร้างอาคารศาลก่ออิฐถือปูนหลังปัจจุบัน
เมื่อจัดสร้างแล้วเสร็จคณะกรรมการศาลเจ้าจึงอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ออกโปรดสาธุชนรอบเมืองตรังอย่างยิ่งใหญ่
จากนั้นนำสิ่งศักดิ์สิทธิ์เข้าประทับภายในศาล
เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ ปีพุทธศักราช 2518
เรียกชื่อว่า ศาลเจ้าพระพิฆเนศวร์ ตรัง
(ในภาพ แท่นบูชาพระพิฆเนศวร์)
ร่างทรงเพื่อนๆในกลุ่มยุคแรกเริ่มนั้น ปัจจุบันล้วนถึงแก่กรรมเกือบหมดแล้ว
ปัจจุบันโกย้อยร่างทรงพระพิฆเนศวร์ของศาลในเมืองตรังก็ถึงแก่กรรมแล้ว
เหลือแต่นายหิ้นร่างทรงของพระพุทธที่ยังอยู่ประจำที่ศาลเจ้าพระพิฆเนศวร์ ย่านตาขาว
ปัจจุบัน นายสมชาย คหบดี ภูมิลำเนาหาดใหญ่
สืบทอดเป็นร่างทรงของพระพิฆเนศวร์ตรังคนปัจจุบัน
โดยมี นายสุวิทย์ วัฒนพันธุ์ เป็นผู้จัดการปกครองของศาลเจ้า
และ นายนรินทร์ ชูตระกูล เป็นผู้ตรวจตราสอดส่องศาลเจ้า
(ในภาพ ภาพประวัติศาสตร์เปิดศาลเจ้าพระพิฆเนศวร์เมื่อ 32 ปีก่อน)