(ในภาพ เทพอสูร สุ่นฮองหงี่)
(ในภาพ เทพอสูร เชียนหลีหง่าน)
อนึ่ง เทพอสูรเชียนหลีหง่าน และ เทพอสูรสุ่นฮองหงี่ เป็นการเรียกตามคุณลักษณะ
เราสามารถเรียกคำจีนว่า เชียนหลีหง่านเจียงกุน และ สุ่นฮองหงี่เจียงกุน ได้
ตามบทบาทหน้าที่องครักษ์ของ พระเทียนห่อเซ่งโบ้ หรือ พระม่าจ้อโป๋ ตามลำดับ
ศาลเจ้าเจากงเยี่ย
เขาพรุเสม็ด วังคีรี ห้วยยอด
พระเจากงเยี่ยชาวบ้านท้องถิ่นเรียก พระผุด
เนื่องจากเชื่อว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผุดขึ้นมาเองตามป่าเขา
ไม่ทราบที่มาว่าปรากฏในพงศาวดารใด
ที่ตั้งของศาลนั้นชาวบ้านเรียก เขาพรุเสม็ด
(ในภาพ ศาลเจ้าเจากงเยี่ย)
กล่าวว่าศาลแรกดั้งเดิมนี้ตั้งอยู่บนภูเขาซึ่งอยู่ที่สูง ปัจจุบันรถยนต์ยังเข้าไม่ถึง
ศาลแรกดั้งเดิมนั้นเป็นเรือนศาลเล็กๆตั้งอยู่กลางหุบเขา
มีร่างทรงซึ่งชาวบ้านเรียก ทวดจันทร์ ท่านเป็นชาวไทยเชื้อสายจีน
พระเจากงเยี่ยเป็นที่นับถือของชาวบ้านในพื้นราบมาก ต่อมาเมื่อมีผู้ศรัทธามากขึ้น
บังเกิดความไม่สะดวกในการเดินทางไปสักการะ เนื่องจากต้องเดินทางขึ้นเขาไปในหุบเขา
จนเมื่อประมาณ 60 กว่าปีก่อน ตาเที้ยม ร่วมกับชาวบ้าน สร้างศาลให้ท่านประทับ
ในท้องถิ่นใกล้ชุมชนพื้นราบ โดยก่อสร้างบนที่ดินซึ่งเป็นของตาเที้ยมเอง
จากนั้นจึงอัญเชิญพระเจากงเยี้ยท่านมาสถิตย์ อาคารแรกเริ่มเป็นเรือนสานไม้ไผ่หลังคามุงจาก
ต่อมาเมื่อราว 50 ปีก่อนจึงสร้างศาลก่ออิฐถือปูนดังสภาพที่ปรากฏในปัจจุบัน
เนื่องจากความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจากงเยี่ย ต่อมาจึงปรากฏมีผู้ขยายความศรัทธา
(ในภาพ ศาลาถี่ก๋งและเทวดาจร)
แยกออกไปไปตั้งศาลใหม่ศาลเล็กศาลน้อยใกล้ชุมชนของตนเอง
จนกระทั่งปัจจุบันมีศาลเจ้าเจากงเยี่ยละแวกใกล้เคียงประมาณ 4 แห่ง
แต่ที่นี่ถือเป็นศาลหลักดั้งเดิม
(ในภาพ ศาลาถี่ก๋งและเสาธง)
ปัจจุบันตาเที้ยมผู้เป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อสร้างศาลนั้นถึงแก่กรรมแล้ว
ชาวบ้านในท้องถิ่นจึงช่วยกันดูแลในรูปกรรมการศาล
มีร่างทรงของศาลซึ่งเมื่อประทับทรงพูดภาษาจีน
ส่วนอักขระที่ท่านเขียนนั้นไม่สามารถมีผู้ใดอ่านออก เนื่องจากขีดเขียนเป็นภาษาโบราณ
(ในภาพ ศาลาพระตั่วแปะก๋ง)
สภาพศาลเจ้าในปัจจุบันนั้นนับเป็นอาคารศาลเก่าแก่ กว้างขวาง ยังคงสภาพความแข็งแรง
เนื่องจากตัวอาคารศาลตั้งอยู่ในบรรยากาศที่ยังคงธรรมชาติ จึงสงบร่มเย็น
(ในภาพ พระตั่วแปะก๋ง)
เบื้องหน้าอาคารศาลฝั่งขวา มีศาลาฮกเต็กบูชาพระภูมิเจ้าที่
ตรงกลางมีเสาธง และศาลาถี่ก๋งเทวดาจร
มีแผ่นป้ายนามศาลเป็นภาษาจีนซึ่งคัดลอกจาก
ต้นฉบับที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์เคยวาดไว้ตั้งแต่รุ่นแรกเมื่อเริ่มก่อสร้างศาล
(ในภาพ แท่นบูชาพระเจ้าที่และประตู)
ภายในอาคารศาลมีแท่นบูชากลาง ซึ่งเป็นแท่นบูชาของพระเจากงเยี่ย เนื่องจากท่านไม่มีรูปเคารพ
สิ่งที่เป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของท่านเป็นแผ่นฉากขนาดใหญ่สื่อถึงปริศนาธรรมเต๋า
ภายหลังลูกหลานได้นำกิมซิ้นของพระกวนอูและองครักษ์ทั้งสองวางไว้ในแท่นบูชากลาง
เบื้องซ้ายของแท่นบูชากลางเป็นแท่นบูชาของพระโพธิสัตว์กวนอิม พระจี้กงฮั่วฮุด
เบื้องขวาของแท่นบูชากลางเป็นแท่นบูชาของพระไท้เท้ ซึ่งชาวบ้านหมายถึงพระโป้เซ้งไต่เต่
สำหรับงานประจำปีของศาลเจ้า กำหนดจัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือเดือนมีนาคมของทุกปี
ในงานประกอบพิธีลุยไฟเพื่อชำระความชั่วร้ายให้มอดไหม้และเสริมสิริมงคลแก่ตนเอง
เรียบเรียงโดย บุนเต้หลาง เมื่อ 15 พฤษภาคม ปีพุทธศักราช 2550
(ในภาพ ป้ายนามศาลพระเจากงเยี่ย)
สารบัญกระทู้
ประเพณีถือศีลกินผักตรัง
(1)
เรื่อง
หน้า
ป่ายตั๋ว
10
ขึ้นเสาเต็งโก
รับพระ
12
ตักเก็ง
13
ปักเต้าหน่ำเต้าแชกุน
16
พระท่ามกงเยี่ย
17
ศ.ท่ามกงเยี่ย ตรัง
19
พระ108
20
พระ108-109 ตรัง
ศ.108-109 ย่านตาขาว
21
ศ.108-109 คลองปาง
พระซามซัวก๊กอ๋อง
ศ.ซำซัวก๊กอ้วง สุโสะ
22
พระโป้เซ้งไต่เต่
23
ศ.โป้เซ้ง ตรัง
25
วันสำคัญสิ่งศักด์สิทธิ์
27
เจ้าพ่อเขาตก
28
เจ้าพ่อเขาใหญ่
31
ศ.เขาใหญ่ เกาะสีชัง
33
ศ.เขาใหญ่ ตรัง
34
เจ้าพ่อหมื่นราม
35
ศ.หมื่นราม ตรัง
37
ซาจับหลักกวนเจียง
38
ศ.กวนอิมเก็ง ตรัง
41
พระก่องเต็กจุนอ๋อง
42
จับซาไท้จือไท้โป้
44
ศ.ฮงสั้นซี้ ท่าจีน
45