ปัจจุบันร่างทรงท่านถึงแก่กรรมแล้วประมาณ 5 ปี สิริอายุรวม 60 ปี ปัจจุบันยังไม่มีร่างทรงมาทดแทน ภายหลังท่านถึงแก่กรรมแล้วจึงมีบุตรชายของท่านซึ่งกลายมาเป็นร่างทรงพระสี่อ่องเอี๋ย หรือ พระจูอ่องเอี๋ย ดำเนินกิจการดูแลศาลแทน และทางศาลยังคงจัดงานบุญเพื่อฉลองวันคล้ายวันเกิดของเจ้าแม่ดอกไม้ทองเป็นประจำทุกปี ซึ่งหลายศาลเจ้าในเมืองตรังจัดงานเฉลิมฉลองให้พระอาจไม่ต้องกับวันจริง โดยดูปัจจัยลมฟ้าอากาศและความสะดวกของสาธุชนเป็นองค์ประกอบสำคัญ
เรียบเรียงโดยบุนเต้หลาง เมื่อ 30 เมษายน ปีพุทธศักราช 2550
(ในภาพ ศาลเจ้าแม่ดอกไม้ทอง)
ศาลเจ้าแม่ดอกไม้ทอง
ตรัง
ขอเชิญสาธุชนร่วมบำเพ็ญกุศล
เนื่องในวันคล้ายวันเกิดเจ้าแม่ดอกไม้ทอง
ในวันที่ 2 ถึง 3 พฤษภาคม ปีพุทธศักราช 2550
ประกอบพิธีลุยไฟเป็นศิริมงคล
ในวันพุธที่ 2 พฤษภาคม ปีพุทธศักราช 2550
เรียน คุณบุนเต้หลาง ขอบคุณที่สละเวลานำความรู้ผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาให้บุคคลทั่วไปอย่างเรา ๆได้มีความรู้เพิ่มขึ้น ผมอยากรบกวน ถามประวัติ ขององค์หลี่โหล่เฉี้ย ขอความกรุณาคุณ บุนเต้หลาง ช่วยเผยแพร่ความรู้และความศรัทธากับองค์ หลี่โหล่เฉี้ย ในรูปแบบของชาวตรัง ให้บุคคลทั่วไป ได้ศึกษาเพื่อเป็นวิทยาทาน ด้วยครับ ด้วยจิตคารวะในคุณบุนเต้หลางครับ
ขอบคุณคุณบุณเต้หลางมากครับที่นำประวัติเเลยประกาศมาลงให้
ศาลเจ้าสามพี่น้อง
บ้านสวนพริก ย่านตาขาว
ศาลเจ้าสามพี่น้องนี้นับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่เป็นอันดับ 3 ของย่านตาขาว เป็นรองเพียงศาลทวดศาลา และ พระ108-109 เท่านั้น เป็นศาลเจ้าที่สร้างขึ้นมาเพื่อบูชาสักการะเทพร่วมสาบานทั้งสามท่านในวรรณกรรมพงศาวดารสามก๊กเป็นการเฉพาะ คือ พระกวนอู พระเล่าปี่ และ พระเตียวหุย ยังรวมถึงเทพบริวารคือ พระฉิวฉางก๋ง และ พระกวนเป็งไท้จือ
(ในภาพ ศาลาพระยี่หวั่ง)
จากคำบอกเล่าของคนรุ่นเก่ากล่าวว่า ศาลเจ้าแห่งนี้สร้างมานานพร้อมกับชาวจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในชุมชนย่านตาขาวยุคแรก สร้างเมื่อปีพุทธศักราชใดไม่ปรากฏหลักฐานชัด ศาลเดิมนั้นอยู่ข้างบ้านหมอไพบูลย์ ในเขตเทศบาลย่านตาขาว อยู่บนถนนทางแยกไปตลาดนาโยง
(ในภาพ อาคารศาลเจ้าสามพี่น้อง)
ร่างทรงแรกไม่ปรากฏนาม เนื่องจากเวลาผ่านมานานแล้ว ไม่มีใครจำได้ ต่อมาศาลเจ้าดังกล่าวถูกไฟไหม้ ร่างทรงที่ 2 ชื่อ นายหาด ชัยศิริ จึงนำกระถางธูปพระสามพี่น้องย้ายมาสร้างศาลเจ้า เป็นอาคารศาลก่ออิฐถือปูนโดยถาวรดังปรากฏในปัจจุบัน สร้างบนที่ดินของตนที่บ้านสวนพริก โดยที่ดินดังกล่าวติดกับผืนนาร้างเรียก นาโต๊ะกา ซึ่งมีเทพสถิตย์อยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นการบูชาจึงต้องบูชา ทวดนาโต๊ะกา ซึ่งเป็นพระภูมิเจ้าที่ร่วมด้วย
(ในภาพ ป้ายนามศาล ซาเฮียดี๋ พระสามพี่น้อง)
ปัจจุบันร่างทรงที่ 2 นายหาด ชัยศิริ ล่วงลับแล้ว จึงมีร่างทรงที่ 3 คือ นายวันทิตย์ ชัยศิริ ซึ่งเป็นร่างทรง พระฉิวฉางก๋ง ซึ่งนายวันทิตย์ร่วมกับนางจำปี ชัยศิริ ภรรยานายหาด ชัยศิริ ร่างทรงที่ 2 และคณะกรรมการศาลเจ้าร่วมกันดูแลรักษาในปัจจุบัน
(ในภาพ บรรยากาศภายในศาลพระสามพี่น้อง)
สำหรับอาคารศาลเจ้าจัดเป็นอาคารศาลชั้นเดียว เบื้องหน้ามีศาลาแท่นบูชาพระยี่หวั่ง เบื้องซ้ายเป็นศาลาทวดนาโตะกา ภายในอาคารศาลเบื้องหน้าเป็นแท่นบูชาพระรวม แท่นบูชาภายในส่วนกลางจึงเป็นแท่นบูชาพระสามพี่น้องซึ่งเป็นภาพวาด นอกนั้นยังมีแท่นบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นประจำศาลเจ้าเช่น พระโพธิสัตย์กวนอิม เจ้าแม่ทับทิมหรือโปโท่ว และพระ108-109 ร่วมด้วย
ทางศาลเจ้าดำเนินการจัดงานประเพณีถือศีลกินเจและลุยไฟเป็นประจำทุกปี ในงานจะมีการยกก๋งป๋าย กระถางธูปเข้าสู่ปะรำพิธีชั่วคราว ขึ้นเสาเต็งโก จุดตะเกียงไฟพระฤกษ์ เดินธูปเวียนเทียนสะเดาะห์เคราะห์ ฝังถ้วยภูมิไฟ ก่อกองไฟ ลุยไฟนำก๋งป๋ายและกระถางธูปกลับคืนสู่ศาลเจ้า ไหว้พระขอพรเป็นอันเสร็จพิธี
เรียบเรียงโดย บุนเต้หลาง เมื่อ 1 พฤษภาคม ปีพุทธศักราช 2550
(ในภาพ แท่นบูชากลางพระสามพี่น้อง)
ศาลเจ้าพระสามพี่น้อง
หมู่บ้านสวนพริก เทศบาลย่านตาขาว อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง
พระกวนอู เล่าปี่ เตียวหุย
พระโพธิสัตย์กวนอิม พระฉิวฉางก๋ง และ ทวดนาโต๊ะกา
ขอเชิญสาธุชนร่วมงานถือศีลกินเจและลุยไฟ ประจำปี 2550
ตั้งแต่วันที่ 9 ถึง 14 พฤษภาคม ปีพุทธศักราช 2550
สวัสดีครับคุณบุ้นเต่หลาง ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบประเพณีกินเจที่ตรัง มันดูแล้วได้ความรู้สึกที่มีมนต์ขลังอย่างบอกไม่ถูก
ประทับใจมากครับ คือถ้าผมไปเที่ยวที่ตรังจะเจอคุณบุ้นเต่หลางได้ที่ไหนครับ ไม่ทราบว่ามีเมล์ติดต่อรึเปล่าครับ
ส่วนนี่เมล์ผมtodsapon_tai@hotmail.com
ยังงัยก็ต้องขอบคุณล่วงหน้าครับ
ขออภัยครับคุณบุญเต้หลาง
ผมขออนุญาตเเก้คำพูดของคุณหน่อยนะครับ ในคำที่คุณบุณเต้หลางได้โพสคำว่า"พระโพธิสัตย์กวนอิม" นั้น คำว่า"สัตย์" คุณบุญเต้หลางพิมม์ผิดครับ ที่ถูกต้องคือ"สัตว์"ตัวนี้ เพราะพระเเม่กวนอิมได้โปดรสัตว์ จึงต้องเป็นคำว่า"พระโพธิสัตว์กวนอิม"ครับ
ใครรู้จัก ทวดทอง ทวดแดง ทวดขาว ทวดเสือ ที่นครศรีธรรมราชบ้างครับ
ช่วยคอมเม้นหน่อยครับ
เรียน คุณบุนเตหลาง
กระผมเป็นลูกหลานชาวฮกเกี้ยนรุ่นที่ 5 บรรพบุรุษของกระผมมาจากเมืองจีนและได้นำรูปเคารพบูชา(กิ้มซิ่น) ของ
องค์พระโปเซ่งไต่เต่มาเมืองไทยด้วย ปัจุบันเป็นมรดกตกทอดมาถึงของกระผม ฬคร่ขอเรียนถามท่านว่า อาจารย์หงอจินหยิน
อาจารย์ข่อจินหยิน และอาจารย์ซุ่นจิหยินนั้น เป็นพี่น้องกันหรือเปล่า ทำไมเราถึงเรียนท่านรวมกันทั้ง 3 องค์ว่า โปเซ่งไต่เต่
ขอแสดงความนับถือ
อ๋องสิ่วซิ่น
ใครทราบประวัติพระจุ้งจือไท้เซียนบ้างครับ และมีรูปมั้ยครับอยากมีไว้บูชา
ขอบคุณครับ
ว.
พระข่อจินหยิน
พระข่อจินหยินท่านมีนามเดิม ชื่อ ข่อซุน นามศึกษา เกงจี เกิดในสมัยตงฮั่น เมืองยรู่หนาน ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอหนาน เกิดในรัชสมัยเว่ยหมิงตี้ จิ่งชูปี 3 ปีพุทธศักราช 782 วันที่ 28 เดือนแรก หรือบางตำนานว่าเป็นวันที่ 25 เดือน 10 ก่อนท่านกำเนิดมารดาท่านฝันเห็นหงส์ทองร่อนมาจากฟ้าลงมายังท่าน แล้วมารดาท่านก็ตั้งครรภ์
(ในภาพ กิมซิ้นพระข่อจินหยิน)
สมัยเด็กท่านชอบยิงนกตกปลา ครั้งหนึ่งท่านยิงกวางซึ่งกำลังตั้งครรภ์ หลังจากนั้นจึงแท้งบุตรออกมา ถึงแม้ได้รับบาดเจ็บสาหัสแต่มันไม่ยอมหนีไปไหน แต่กลับพยายามลากบุตรที่แท้งออกมาไปด้วยกัน เป็นที่เวทนา ทำให้ท่านบังเกิดความสงสารและรู้สึกสำนึกผิด ตั้งแต่บัดนั้นท่านจึงทิ้งอาวุธ เลิกนิสัยยิงนกตกปลาอย่างเด็ดขาด
เนื่องจากปู่และบิดาของท่านล้วนเป็นนักธรรมเต๋า ท่านจึงซึมซับความรู้ความชำนาญในศาสตร์เต๋าตั้งแต่ยังเล็ก ไม่ว่าจะเป็นวิชาดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศาสตร์หยินหยาง เป็นต้น ล้วนแตกฉาน เมื่อท่านอายุ 20 ปี ท่านได้เป็นศิษย์ของ ไต่ต้งจินหยิน หรือ หงอเบ่ง ฝึกฝนวิชาก้าวหน้าตามลำดับ