(ในภาพ ป้ายนามศาลพระเจียวเหลียดเซ่งเต้)
(ในภาพ สุสานภายในศาลพระเจียวเหลียดเซ่งเต้)
(ในภาพ ป้ายนามสุสานพระเจียวเหลียดเซ่งเต้)
เรียบเรียงโดย บุนเต้หลาง เมื่อ 11 สิงหาคม ปีพุทธศักราช 2550
พระห่วนโหเซ่งเต้
พระห่วนโหเซ่งเต้ หรือ พระห่วนโหไต่เต่ หรือ พระเหงโห่เซ่งเต้
เป็นนามของท่านเตียวหุย
ซึ่งท่านเตียวหุยอายุน้อยกว่าท่านเล่าปี่ 6 ปี และน้อยกว่าท่านกวนอู 5 ปี
(ในภาพ พระห่วนโหเซ่งเต้)
ท่านมีนาม เอ็กเต็ก ชาวอำเภอ ตุ้ย เมืองตุ้ย
ปัจจุบันคืออำเภอ โจโจว เปาติ้ง มณฑลเหอเป่ย
เดิมมีอาชีพขายสุราและชำแหละสุกร
อุปนิสัยใจร้อน โผงผาง เป็นพี่น้องร่วมสาบานกับท่านเล่าปี่และท่านกวนอู
ร่วมออกปราบโจรโพกผ้าเหลือง อาวุธคู่กายเป็นลำทวน (ในภาพ พระห่วนโหเซ่งเต้)
ลักษณะของท่านสูง 8 เชียะ ศีรษะเหมือนหัวเสือดาว ตาพองดั่งปลาทอง
หน้าผากโหนกเหมือนนนกนางแอ่น เคราเหมือนเสือโคร่ง เสียงดังเหมือนฟ่าผ่า
ท่าเดินเหมือนอาชาเผ่นโผนโจนทะยาน (ในภาพ พระห่วนโหเซ่งเต้)
ท่านได้รีบการแต่งตั้งเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือของเล่าปี่ ท่านชอบดื่มเหล้า
ท่านเคยยืนขวางทัพโจโฉเพียงคนเดียวที่สะพาน เตียงปันเกี้ยว
ท่านเตียวหุยตวาดทหารฝ่ายโจโฉ จนนายทหารตกใจกลัวตกลงจากม้า
ท่านเคยรบกับ ม้าเฉียว ตัวต่อตัว เคยร่วมรบพร้อมกับท่านเล่าปี่และท่านกวนอูจนเอาชนะลิโป้ (ในภาพ พระห่วนโหเซ่งเต้)
ครั้งฝ่ายเล่าปี่ทำศึกกับ เล่าเจี้ยง ท่านเตียวหุยช่วยตีเมือง ปากุ๋น เอาชนะ เงียมหงัน ได้
ท่านเว้นโทษประหารเงียมหงัน เงียมหงันจึงยอมสวามิภักดิ์กับท่านเตียวหุย
ในชีวิตราชการของท่านเตียวหุย ท่านได้รับแต่งตั้งหลายตำแหน่ง เช่น
เช่น เจ็งล้อเจียงกุน ปาซายไท้สิ่ว และ ซือไต่ห่าวอุ่ย เป็นต้น
เมื่อท่านเล่าปี่ตั้งตนเป็นฮั่นต๋งอ๋องแล้ว ท่านเตียวหุยได้รับ
การแต่งตั้งเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือนาม อิ่วเจียงกุน
ครั้งเมื่อท่านเล่าปี่สถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แล้ว
จึงได้รับแต่งตั้งนาม เชียกี๋เจียงกุน หรือ ขุนพลกองทัพรถม้า(ในภาพ พระห่วนโหเซ่งเต้)
เมื่อท่านกวนอูถูกประหารเสียชีวิต ท่านเตียวหุยเสียใจมาก รบเร้าให้ท่านเล่าปี่ไปตีฝ่ายซุนกวน
สั่งให้หาผ้าขาว ม้าขาว เพื่อจะไปแก้แค้นให้ท่านกวนอู
ท่านลงโทษนายทหาร ฮอมเกียง และ เตียวตัด ที่เตรียมการไม่ทัน คาดโทษตายแก่บุคคลทั้งสอง
ต่อมาทั้งสองจึงลอบฆ่าเตียวหุยขณะที่ท่านนอนหลับ และนำศีรษะไปสวามิภักดิ์กับฝ่ายซุนกวน
ท่านเตียวหุยท่านถึงแก่กรรมเมื่อปีพุทธศักราช 764
ส่วนศีรษะท่านถูกฝังไว้ที่ริมฝั่งน้ำฉางเจียง อำเภอ หยุนหยาง
ปัจจุบันเป็นศาลอยู่ใกล้เขื่อนซานเสีย เมืองฉงชิ่ง เรียก เตียวห่วนโหเบ้ว
ส่วนร่างของท่านถูกฝังที่เมือง หลางจง มณฑลเสฉวน ในปัจจุบัน เรียก เตียวห่วนโหสือ
ภายหลังจึงสร้างศาลหลักบูชาท่านที่บ้านเกิดเมืองโจโจว มณฑลเหอเป่ยอีกด้วย
ภายหลังพระเจ้าเล่าเสี้ยนจึงแต่งนามท่านเตียวหุยว่า ห่วนโห หรือ พระห่วนโหเซ่งเต้
วันคล้ายวันเกิดของท่านตรงกับ วันที่ 8 เดือน 8 จีน ของทุกปี