|
|
๐ ข้อมูลจังหวัดตรัง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๐ ข้อมูลท่องเที่ยวตรัง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๐ เกี่ยวกับตรังโซน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๐ เพื่อนบ้าน |
|
|
|
|
|
|
|
อุปกรณ์และวิธีการเล่น อุปกรณ์การเล่น ก้อนหินขนาดเล็ก จำนวน ๕ ก้อน วิธีการเล่น เป็นการละเล่นประเภทโยนรับ ซึ่งต้องอาศัยทักษะความแม่นยำ โดยโยนเองและรับเอง เวลาเล่นมักจะนั่งเล่นเป็นวงจำนวนหลายคน โดยผู้เล่นตกลงกันว่าจะเล่นอย่างไร ส่วนใหญ่นิยมเล่นกันในหมู่เด็ก ๆ ดังนี้ หมาก ๑ โยนก้อนหิน ๑ ก้อน แล้วเก็บอีก ๔ ก้อนที่เหลือทีละก้อน หมาก ๒ โยนก้อนหิน ๑ ก้อน แล้วเก็บอีก ๔ ก้อนที่เหลือทีละ ๒ ก้อน หมาก ๓ โยนก้อนหิน ๑ ก้อน แล้วเก็บอีก ๔ ก้อนที่เหลือโดยแบ่งเก็บ ๒ ครั้ง ครั้งแรกเก็บ ๓ ก้อน ครั้งที่สองเก็บ ๑ ก้อนหรือจะสลับกันก็ได้ หมาก ๔ โยนก้อนหิน ๑ ก้อน แล้วเก็บรวบอีก ๔ ก้อน ที่เหลือทั้งหมดเพียงครั้งเดียว หมาก ๕ หงายฝ่ามือเอาก้อนหินทั้ง ๕ ก้อนไว้ในฝ่ามือ โยนก้อนหินขึ้นและพลิกฝ่ามือคว่ำลงอย่างรวดเร็ว ใช้หลังมือรับก้อนหินซึ่งอาจร่วงลงไปบ้าง โยนก้อนหินอีกครั้งและพลิกมือใช้ฝ่ามือรับเหลือก้อนหินในฝ่ามือเท่าใดนั่นคือจำนวนคะแนนที่ได้ หมาก ๑-๕ นี้ หากผู้เล่นคนใดรับไม่ได้ต้องเปลี่ยนผู้เล่นใหม่ และหมุนเวียนไปจนได้คะแนนครบตามที่กำหนดไว้ ผู้ใดสามารถใช้หลังมือรับก้อนหินได้มากกว่าผู้อื่นจะเป็นผู้ชนะ
โอกาสที่เล่น นิยมเล่นในยามว่าง
คุณค่า ส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ผู้เล่นจะได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลินอารมณ์เบิกบานแจ่มใส การเล่นเป็นกลุ่มช่วยให้รู้จักปรับตัวเข้ากับเพื่อนๆ รู้จักการผ่อนปรน การอดทน อดกลั้น การควบคุมอารมณ์ ส่งเสริมความสามัคคี ความรักความผูกพันในหมู่เพื่อนเล่น ตลอดจนทักษะการใช้มือใช้นิ้ว การสังเกต การใช้สายตา ไหวพริบ และการคำนวณ |
 |
|